10 กลวิธีสร้าง circular economy ของเดนมาร์ก

10 กลวิธีสร้าง circular economy ของเดนมาร์ก

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 เม.ย. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 11 ก.ค. 2566

| 3,925 view

10 ตัวอย่างการนำ Circular Economy Solutions ในเดนมาร์ก

 

1. อุตสาหกรรมที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน (Industrial Symbiosis)

ตัวอย่าง_cir_eco_1


Industrial Symbiosis ในเดนมาร์กนับเป็นต้นแบบที่เก่าแก่ที่สุดสำหรับการเติบโตในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและถือเป็นวิธีการใช้วัสดุที่หายากอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โครงการ “Sustainable Synergies” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง Port of Aalborg, Aalborg University และกลุ่มพลังงาน House of Energy ทำให้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการผลิต ในปัจจุบันมีบริษัทจำนวนกว่า 25 แห่งได้แลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่เหลือใช้ซึ่งกันและกัน เช่น น้ำ พลังงาน และวัตถุดิบอื่น ๆ

โครงการดังกล่าวมีส่วนช่วยทำให้เกิดผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกหลายประการ เช่น
-การใช้พลังงานลดลงประมาณ 11,000 จิกะจูล
-การใช้วัตถุดิบลดลงประมาณ 2,600 ตัน
-การทำให้แต่ละบริษัทสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 264 MWh หรือเทียบเท่ากับการใช้พลังงานของครัวเรือน 8 หลัง
-การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงประมาณ 10,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่ https://stateofgreen.com/.../industrial-symbiosis-a.../

2. ระบบการรีไซเคิลกระป๋องและขวดเครื่องดื่ม

ตัวอย่าง_cir_eco_2
ในปี 2564 เดนมาร์กมีอัตราการส่งคืนบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งประมาณร้อยละ 93 และมีการรีไซเคิลกระป๋องและขวดจำนวนกว่า 1.9 พันล้านชิ้นให้นำกลับมาใช้ใหม่ เนื่องจากเดนมาร์กได้กำหนดให้มีระบบการจ่ายเงินมัดจำค่าขวดและกระป๋องซึ่งผู้บริโภคสามารถนำกระป๋องและขวดที่จ่ายเงินมัดจำไปคืนที่ตู้รับคืนบรรจุภัณฑ์ขององค์กร Dansk Retursystem ที่ตั้งอยู่ในซุปเปอร์มาร์เกตและร้านขายของชำทั่วประเทศ

อนึ่ง ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น
-การผลิตกระป๋องจากวัสดุรีไซเคิลใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตกระป๋องจากวัสดุบริสุทธิ์ (virgin materials) ถึงร้อยละ 95
-การรีไซเคิลทำให้ลดการใช้แร่บ็อกไซด์ (bauxite) ในการผลิตอะลูมิเนียม

ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่ https://stateofgreen.com/.../the-danish-deposit-return.../

3. โครงการเคหะของรัฐแห่งแรกของเดนมาร์กที่สร้างขึ้นตามหลัก Circular Economy

circular_economy_โครงการ_the_circle_house
อุตสาหกรรมก่อสร้างมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นร้อยละ 39 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการออกแบบและก่อสร้างในรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งหนึ่งในวิธีการดังกล่าวคือ การรีไซเคิลหรือการนำวัสดุก่อสร้างกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มอายุการใช้งานและการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด หนึ่งในตัวอย่างสำคัญคือ โครงการ The Circle House ที่ออกแบบโดยบริษัท 3XN Architects ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมือง Aarhus ซึ่งคาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2566 บริษัทฯ ได้ออกแบบพิมพ์เขียวสำหรับ การก่อสร้างอาคารหมุนเวียน (circular construction) โดยร้อยละ 90 ของวัสดุก่อสร้างสามารถรื้อถอนและนำกลับมาใช้ใหม่ หรือขายต่อได้โดยไม่เสียมูลค่า โครงการดังกล่าวนอกจากจะใช้คอนกรีตและซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างหลักแล้ว ยังมีการเลือกใช้วัสดุทางเลือกอื่น ๆ เพื่อทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกซ์ไซด์ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การนำไม้ก๊อกและหนังสือพิมพ์เก่ามาใช้สำหรับบริเวณด้านหน้าของอาคาร การนำหญ้าทะเลและเมล็ดข้าว Granules มาใช้เป็นฉนวนความร้อน และการนำยางรถยนต์เก่ามาใช้เป็นแผ่นรองพื้นห้อง เป็นต้น โดยเมื่อโครงการดังกล่าวสร้างแล้วเสร็จจะกลายเป็นโครงการแห่งแรกของโลกที่สร้างขึ้นตามหลักของ Circular Economy และคาดว่าจะทำให้เดนมาร์กมีศักยภาพทางเศรษฐกิจในการดำเนินเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้างประมาณ 7.75 พันล้านยูโร/ปี (ประมาณ 286.75 พันล้านบาท) ไปจนถึงปี 2578
.
ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่ https://stateofgreen.com/.../denmarks-first-circular.../

 

4. การรีไซเคิลหญ้าเทียม

ตย._cir_eco_4


บริษัท Re-Match เป็นเจ้าแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว เพื่อคัดแยกหญ้าเทียมที่เสื่อมสภาพออกและนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลในอุตสาหกรรมหญ้าเทียมหรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ดังนั้น สนามหญ้าเทียมที่รีไซเคิลโดยบริษัท Re-Match จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ประมาณ 400 ตัน หรือเทียบเท่ากับการเผาขยะ 250 ตัน หรือการเผาถุงพลาสติก 1.4 ล้านใบ นอกจากนี้ กระบวนการที่ใช้ในการแยกหญ้าเทียมที่เสื่อมสภาพออกจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยกว่า 20 ตันต่อสนาม

ทั้งนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://stateofgreen.com/.../sustainable-sports-surfaces/

 

5. การนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่

ตย._cir_eco_5_1


ด้วยเหตุที่ผู้บริโภคในปัจจุบันมองหาวิธีการลดการใช้บรรจุภัณฑ์และของเหลือทิ้ง จึงทำให้เกิดความต้องการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า บริษัท Plus Pack จึงได้ร่วมมือกับบริษัท Circqle พัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์อาหารที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ทั้งนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://stateofgreen.com/.../closed-loop-in-reuse.../

6. ศักยภาพในการผลิตแป้งมันฝรั่ง

 

ตย._cir_eco_6

กลุ่มสหกรณ์ KMC ผู้ผลิตแป้งมันฝรั่งของเดนมาร์กถือเป็นผู้บุกเบิกในด้านการเพิ่มมูลค่าให้กับ side streams โดยได้พัฒนาและปรับปรุงส่วนที่เหลือจากการผลิตแป้งมันฝรั่ง โดยเมื่อปี 2548 KMC ได้เปลี่ยนเส้นใยมันฝรั่ง (potato fiber) ที่เหลือให้กลายเป็นสารเติมแต่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่มีคุณค่าสำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยการคัดแยกและปรับแต่ง side streams จากการผลิตแป้งมันฝรั่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรที่ปลูกมันฝรั่ง ในขณะที่การใช้เส้นใยมันฝรั่งจะทำให้อุตสาหกรรมอาหารสามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

7. การนำอิฐเก่ากลับมาใช้ใหม่เพื่ออนาคตสีเขียว

ตย._cir_eco_7

บริษัท Gamle Mursten ของเดนมาร์กได้คิดค้นผลิตเทคโนโลยีทำความสะอาดที่จดสิทธิบัตรแล้ว
.
ในการนำขยะก่อสร้างนำกลับมาใช้ใหม่ โดยจะรวบรวมอิฐเก่านำมาทำความสะอาดด้วยเทคโนโลยีการสั่นสะเทือน และตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะถูกนำมาวางซ้อนเรียงกันบนแท่นไม้พาเลทโดยหุ่นยนต์ เพื่อจัดส่งไปยังไซต์งานก่อสร้างแห่งใหม่ ซึ่งจะประหยัดพลังงานมากกว่าร้อยละ 95 ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตอิฐใหม่ วิธีการดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์แบบที่ส่งต่อทรัพยากรจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นใหม่ ซึ่งอิฐที่นำมาผ่านเทคโนโลยีดังกล่าวจำนวน 2,000 ก้อนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1 ตัน
.
ทั้งนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://stateofgreen.com/.../soluti.../rebrickgamle-mursten/

 

8. ฉนวนความร้อน เครื่องเคลือบดินเผาและสุขภัณฑ์ที่ใช้แล้ว นำมารีไซเคิลเป็นฉนวนความร้อนใหม่


ตย._cir_eco_8

ขยะของเสียในเดนมาร์กมากกว่าร้อยละ 30 มาจากสิ่งก่อสร้าง ดังนั้น การนำวัสดุที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาเข้าสู่วงจรการใช้อีกครั้ง (upcycling) จึงเป็นเทรนด์ใหม่ที่ผู้คนให้ความสำคัญมากขึ้น บริษัท RGS90, บริษัท ROCKWOOL และบริษัท Combineering A/S จึงได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการนำขยะจากการก่อสร้างจากศูนย์รีไซเคิลของเดนมาร์กส่งไปยัง RGS90 ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญในการคัดแยก กำจัดและรีไซเคิลขยะ โดยจะคัดแยกฉนวนความร้อน ROCKWOOL และแผ่นซับเสียง ROCKFON ออกจากฉนวนความร้อนที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ก่อนที่จะนำไปอัดใหม่ ส่วนเครื่องเคลือบดินเผาและสุขภัณฑ์จะถูกนำไปบดก่อนที่จะส่งไปยังโรงงานผลิตของบริษัท ROCKWOOL เพื่อใช้ในการผลิตฉนวนความร้อนใหม่ที่สามารถรีไซเคิลได้

ทั้งนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://stateofgreen.com/.../solution.../rockwool-group/

 

9. The Swan ศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่สร้างขึ้นตามหลัก Circular Economy

 

ตย._cir_eco_9


ศูนย์รับเลี้ยงเด็กในเขตเทศบาลเมือง Gladsaxe กรุงโคเปนเฮเกนนับเป็นอาคารหลังแรกที่สร้างขึ้นตามหลัก Circular Economy โดยบริษัท Landager Group เป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างอาคารดังกล่าว และได้รับรางวัล Nordic Swan EcoLabel ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะมอบให้กับอาคารที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ได้แก่ การใช้พลังงานต่ำ สภาพแวดล้อมในร่มดี และมีข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและไม้ที่ยั่งยืน เป็นต้น
.
ทั้งนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lendager.com/project/the-swan/

 

10. การเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตข้างเคียง (side streams)

ตย._cir_eco_10

 

การผลิตและความเป็นไปได้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตข้างเคียง (side streams) ปรากฎให้เห็นทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ฟาร์มไปจนถึงโต๊ะอาหาร บริษัท Danish Crown หนึ่งในผู้ผลิตเนื้อสุกรรายใหญ่ที่สุดในโลกมุ่งเน้นการผลิตเนื้อสัตว์ รวมถึงการผลิตและการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น พลังงานยั่งยืน เชื้อเพลิง อาหารสัตว์ สารอาหาร และปัจจัยการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมเภสัชกรรม โดยยึดถือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเป็น DNA หลักของบริษัทฯ ตลอดจนมีการลงทุนในห่วงโซ่คุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างกัน เช่น การเพาะพันธุ์สัตว์ การสร้างคอกที่มีประสิทธิภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารสัตว์ การรีไซเคิลสารอาหาร และการปรับปรุงประสิทธิภาพน้ำและพลังงาน การขนส่ง และการใช้ประโยชน์จากside streams เป็นต้น
.
ทั้งนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.danishcrown.com/en-gb/sustainability/